“โครงการระดมทุนของอดีตนายกเทศมนตรีนิวยอร์ก Michael Bloomberg ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อลดการใช้ยาสูบทั่วโลก ถูกกล่าวหาว่า เงินทุนก้อนใหญ่ถูกทุ่มให้กับกลุ่มประเทศที่มีรายได้ต่ำ-ปานกลาง (LMICs) เพื่อแทรกแซงนโยบายเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าของประเทศนั้นๆ”
เมื่อต้นปีที่ผ่านมามูลนิธิบลูมเบิร์ก ได้ประกาศทุ่มเงิน 420 ล้านดอลลาร์ เพื่อลดการใช้ยาสูบทั่วโลก แต่ 280 ล้านดอลลาร์ ซึ่งมากกว่าครึ่งหนึ่งของเงินทั้งหมด ถูกใช้ไปในกลุ่มประเทศ LMICs เพื่อช่วยเหลือในการต่อต้านยาสูบ เหมือนจะเป็นเรื่องที่ดี แต่การต่อต้านยาสูบดังกล่าว ยังรวมไปถึงการต่อต้านบุหรี่ไฟฟ้าอีกด้วย โดยข่าวประชาสัมพันธ์ของ World Vapers’ Alliance (WVA) ซึ่งเป็นองค์กรที่สนับสนุนบุหรี่ไฟฟ้า ได้อธิบายเรื่องนี้ว่า โครงการนี้ให้ข้อมูลที่ผิดเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า ไม่ว่าจะด้วยเจตนาดีหรือไม่ แต่เงินจากโครงการนี้จะสร้างผลเสียมากกว่าผลดี
LMICs คืออะไร?
LMICs ย่อมาจาก low- and middle-income countries หรือก็คือ กลุ่มประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลาง มีทั้งหมด เช่น อัฟกานิสถาน, แอลเบเนีย, บราซิล, อาร์เจนตินาม โดยประเทศไทยถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ระดับกลาง
รายชื่อประเทศที่อยู่ใน LMICs : https://wellcome.org
การทุ่มเงินมหาศาลของมูลนิธิ Bloomberg ส่งผลเสียมากกว่าผลดี จริงหรือ?
ในความเป็นจริงแล้ว จากเงินทั้งหมด 420 ล้านดอลลาร์ 280 ล้านดอลลาร์ ถูกใช้ไปกับกลุ่มประเทศ LMICs 280 และ 140 ล้านดอลลาร์ ถูกใช้ในการป้องกันการเข้าถึงบุหรี่ไฟฟ้าของเยาวชน ในขณะที่อีก 160 ล้านดอลลาร์ ถูกใช้ในการห้ามรสชาติของบุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ไม่ควร และทำให้เกิดความเข้าใจผิดอย่างยิ่ง เพราะทั้งจากการศึกษานับไม่ถ้วน รวมถึงผู้เชี่ยวชาญด้านการเลิกบุหรี่ก็ได้ย้ำอยู่เสมอว่า รสชาติเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ผู้สูบบุหรี่มวนเปลี่ยนไปใช้ผลิตภัณฑ์ทดแทนที่ปลอดภัยกว่า การทุ่มเงินจำนวนมากของมูลนิธิ Bloomberg ถูกใช้ไปในทางที่ผิด และเมื่อรสชาติถูกแบนก็อาจทำให้คนจำนวนมากกลับไปสูบบุหรี่อีกครั้ง
การรณรงค์ และการประชาสัมพันธ์ กำลังทำให้คนส่วนใหญ่ในโลกเข้าใจผิดเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า
ปัจจุบันมีการรณรงค์ และการประชาสัมพันธ์ในหลายๆ โครงการที่ต่อต้านการสูบบุหรี่ ซึ่งได้สร้างความเข้าใจผิดมากมายเกี่ยวกับประโยชน์ของการใช้บุหรี่ไฟฟ้า เมื่อไม่นานมานี้ ได้มีการศึกษา ซึ่งเผยแพร่โดย มูลนิธิ “We Are Innovation” มีวัตถุประสงค์เพื่อวัดระดับการรับรู้ และความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายต่อต้านบุหรี่อย่างมีประสิทธิภาพใน 59 ประเทศ ซึ่งพบว่า คนในประเทศนั้นๆ มีการรับรู้ และเข้าใจผิด เกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าเป็นจำนวนมาก และประเทศเหล่านี้มีกฎหมายห้ามใช้ผลิตภัณฑ์บุหรี่มากถึง 53 ชนิด
WVA ย้ำว่านี่คือเรื่องที่น่ากังวลใจอย่างยิ่ง เพราะจากการศึกษา บทความ และรายงานมากมาย ทำให้มีหลักฐานซึ่งพิสูจน์แล้วว่าผลิตภัณฑ์ที่ถูกแบนเหล่านี้ปลอดภัยกว่าบุหรี่ถึง 95% แต่รัฐบาลของหลายๆ ประเทศยังคงละเลยข้อมูลนี้ และยังคงดื้นรั้นที่จะออกกฎเกณ์ และสื่อสารให้คนเข้าใจผิดเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าต่อไป
ในขณะที่ประเทศที่สนับสนุนการใช้นิโคตินทางเลือก เช่น บุหรี่ไฟฟ้า มีอัตราการสูบบุหรี่ที่ต่ำเป็นประวัติการณ์ ซึ่งเป็นผลลัพธ์จากการใช้บุหรี่ไฟฟ้าที่น่าประทับใจอย่างมาก โดยประเทศดังกล่าวคือ สหราชอาณาจักร และสวีเดน
การใช้ทุนเพื่อสร้างอิทธิพล
“ประเทศที่ต้องการเงินทุนจำนวนมาก ในการดำเนินโครงการด้านสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพ มักมีความเสี่ยงที่จะตกเป็นเหยื่อของ การบริจาคเงินทุนแบบให้เปล่า เพื่อแทรกแซงนโยบาย” Nancy Loucas ผู้ประสานงานบริหารของ CAPHRA
โดยในปี 2564 ได้มีการหยิบยกข้อกังวลเกี่ยวกับขอบเขตการสนับสนุนเงินทุน หรือการช่วยเหลือทางเทคนิคให้กับประเทศต่างๆ ของหน่วยงาน เช่น มูลนิธิ Bloomberg เพราะมักจะมีเจตนาที่จะมีอิทธิพลต่อผู้นำประเทศนั้นๆ ในการออกนโยบายต่างๆ โดยประเทศกลุ่ม LMICs ควรทบทวนเรื่องนี้เป็นอย่างมาก ก่อนจะรับเงินสนับสนุน เพราะอาจส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคในประเทศในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ดีต่อสุขภาพมากกว่า
ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุข ดร. Roberto A. Sussman จากสถาบันวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์แห่งมหาวิทยาลัยอิสระแห่งชาติเม็กซิโก กล่าวว่า ผู้บริโภค และกลุ่มที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการมีอิทธิพลอย่างมากของมูลนิธิ Bloomberg ที่มีต่อนโยบายนิโคตินใน LMICs
LMICs เป็นเป้าหมายที่ง่ายต่อการแทรงแซง
ความพยายามของมูลนิธิ Bloomberg มุ่งไปที่กลุ่มประเทศ LMICs เนื่องจากประเทศเหล่านี้ มีทรัพยากรด้านสาธารณสุข และบุคลากรในกระทรวงสาธารณสุขที่ไม่เพียงพอ และไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งทำให้เป็นเรื่องง่ายที่จะล็อบบี้ และโน้มน้าวรัฐบาลในการออกนโยบายต่างๆ
สำหรับในเรื่องของบุหรี่ไฟฟ้า นับว่าเป็นเรื่องน่าเศร้าของประชาชนในประเทศนั้นๆ ที่ยังคงได้รับข้อมูลผิดๆ เกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า รวมถึงการห้าม และกฎเกณฑ์ข้อบังคับมากมาย ก็ทำให้ประชาชนไม่สามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์ที่มีอันตรายน้อยกว่าได้ และยังคงต้องเสียเงินไปกับบุหรี่มวนที่มีแต่สารพิษที่ก่อมะเร็ง รวมถึงส่งผลร้ายต่อคนรอบข้าง และไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ข้อดีหนึ่งเดียวของบุหรี่มวนคงจะผลประโยชน์ที่จะได้รับของเจ้าของเงินทุนสนับสนุนนั้นแหละ
อ่านต่อ: