บุหรี่ไฟฟ้า

ไอคอส ในไทยนั้นผิดกฏหมายหรือไม่ ?

ไอคอสเป็นหนึ่งในบุหรี่ไฟฟ้าประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ไม่แพ้บุหรี่ไฟฟ้าประเภทอื่น ซึ่งยังคงเป็นที่ถกเถียงสำหรับเรื่องราวของบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศ ซึ่งแน่นอนว่าตอนนี้เรามักจะผู้คนใช้บุหรี่ไฟฟ้ากับอย่างมากมาย แต่แท้จริงแล้ว บุหรี่ไฟฟ้าในประเทศนั้นมันถูกกฏหมายแล้วหรือไม่ วันนี้เราจะมาดูกันว่าบุหรี่ไฟฟ้าอย่างไอคอส นั้นผิดกฏหมายหรือไม่

บุหรี่ไฟฟ้าคืออะไร ?

บุหรี่ไฟฟ้าคืออะไร ?

บุหรี่ไฟฟ้าคืออุปกรณ์สูบบุหรี่ชนิดหนึ่ง ที่ใช้กลไกไฟฟ้าในการทำให้เกิดความร้อน และไอน้ำที่ประกอบด้วยสารเคมีต่างๆ โดยไม่มีควันจากกระบวนการเผาไหม้เหมือนบุหรี่มวน ซึ่งจะประกอบด้วยบุหรี่ไฟฟ้าประเภทต่างๆดังนี้

  • บุหรี่ไฟฟ้าแบบอะตอมไมเซอร์ : บุหรี่ไฟฟ้าแบบเก่าที่จะมีคอยล์เป็นขดลวด ซึ่งจะใช้พลังงานจากแบตเตอรี่หรือถ่านในการผ่านอะตอมไมเซอร์ เพื่อให้กระแสไฟฟ้าผ่านขวดลวดจนเกิดความร้อน และให้ความร้อนผลิต ไอน้ำ เพื่อสูบ ซึ่งบุหรี่ไฟฟ้าประเภทนี้สามารถที่จะเปลี่ยนขดลวด เติมน้ำยา หรือ เปลี่ยนหัวแท้งได้อย่างอิสระ หรือที่บางคนรู้จักกันในนาม MOD
  • บุหรี่ไฟฟ้าแบบพอตเปลี่ยนหัว : บุหรี่ไฟฟ้าที่จะมีคอยล์ขดลวย ซึ่งการทำงานคล้ายกับด้านบน เพียงแต่จะเป็นการเปลี่ยนหัวพอตได้อย่างอิสระ ซึ่งจะมีขายทั่วไปตามแบรนด์ดังอย่าง อินฟี่,Relx เป็นต้น
  • บุหรี่ไฟฟ้าแบบพอตใช้แล้วทิ้ง : บุหรี่ไฟฟ้าที่ได้รับความนิยมในยุคนี้ การทำงานเหมือนกับุหรี่ไฟฟ้าทั่วไปทุกประการ และที่เป็นจุดเด่นของรุ่นนี้คือการใช้แล้วทิ้งได้ทันที ไม่สามารถเติมน้ำยาหรือเปลี่ยนหัวน้ำยาได้ มีแบรนด์ดังมากมาย ทั้ง QUIK,VMC,อินฟี่ 6000 พัฟ เป็นต้น
  • บุหรี่ไฟฟ้าแบบ ไอคอส IQOS : บุหรี่ไฟฟ้าที่ทำความร้อนผ่านเครื่องทำความร้อน โดยจะมีตัวบุหรี่เสียบอยู่ที่ตัวเครื่องพร้อมสูบ แต่ตัวบุหรี่นั้นจะไม่ใช่ตัวบุหรี่ปกติ มีขนาดสั้นและเล็กกว่า ข้างในตัวบุหรี่จะเรียกว่า Heatstick หรือ TEREA Stick ไอคอสนั้นจะให้ฟิลสูบที่เหมือนกับบุหรี่จริง และยังไม่มีการเผาไหม้ให้เกิดสารก่อมะเร็งอย่าง ทาร์ เป็นต้น

ไอคอสและบุหรี่ไฟฟ้าทั่วไปผิดกฏหมายหรือไม่ ?

ไอคอสและบุหรี่ไฟฟ้าทั่วไปผิดกฏหมายหรือไม่ ?

จากภายใต้ พ.ร.บ คุ้มครองคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 มาตรา 29/9 มาตรา 56/4 และคำสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ 9/2558 ลงวันที่ 28 ม.ค.2558

ซึ่งทำให้การจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้า มีความผิดฐาน “ฝ่าฝืนคำสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคซึ่งห้ามขาย หรือห้ามให้บริการบารากู่ บารากู่ไฟฟ้า หรือบุหรี่ไฟฟ้า หรือตัวยาบารากู่ น้ำยาสำหรับเติมบารากู่ไฟฟ้า หรือบุหรี่ไฟฟ้า” ตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 600,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ พูดง่ายๆก็คือสินค้าต้องห้าม

เท่ากับว่าถ้าไอคอสเป็นบุหรี่ไฟฟ้าก็ถือว่าทาง IQOS ยังผิดกฏหมายในไทยอยู่นั่นเอง เพราะสินค้าที่ไม่เสียภาษี ซึ่งหากมองจากกฏหมายด้านบนนั้นจะเป็นเพียงความผิดฐานผู้ขาย ซึ่งผู้ใช้นั้นสามารถใช้ได้

และที่สำคัญจากข้อมูลของกรมศุลกากรหากมีผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้าในสถานที่สาธารณะที่กำหนดให้เป็นเขตปลอดบุหรี่ เช่น ในโรงเรียน โรงพยาบาล ตลาด ถือว่าฝ่าฝืน มาตรา 42 พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560 ต้องระวางโทษ
ปรับไม่เกิน 5,000 บาท สำหรับข้อนี้สำหรับนักสูบคงต้องระวังเป็นพิเศษ

อ้างอิง : thaipbs.or.th

สรุป

ไอคอสนั้นเป็นบุหรี่ไฟฟ้าประเภทหนึ่งที่ให้ฟิลสูบได้ดีกว่าบุหรี่ไฟฟ้าประเภทอื่นๆ ซึ่งยังคงผิดกฏหมายในประเทศไทยใน พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค โดยจะมีความผิดทางด้านผู้ขาย ส่วนผู้สูบนั้นอาจจะต้องระวังในเรื่องพื้นที่สูบอย่างเช่น พื้นที่สาธารณะ หรือเขตโรงเรียน โรงพยาบาล เป็นต้น อย่างไรก็ดีไอคอสนั้นยังคงเป็นตัวเลือกในการเลิกบุหรี่ที่ดีที่สุด สำหรับผู้ที่ชอบฟิลสูบที่เหมือนบุหรี่มวน ทั้งนี้ผู้สูบควรจะใช้แต่ความพอดี หากใช้มากเกินไปอาจจะก่อให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี ก็เป็นได้