ความรู้

อย่างที่เรารู้กันดีจากข่าวทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ที่แสดงให้เห็นถึงอันตรายต่อการสูบบุหรี่มวน และในระยะหลังเรื่องเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ไฟฟ้าด้วย โดยมักจะเน้นหนักไปในเรื่องของการสูบบุหรี่ไฟฟ้า หรือที่เราเรียกว่า Vaping ที่มีอันตรายต่อปอด และอาจทำให้เสียชีวิตได้ เรื่องนี้ จริงอย่างไร เรามาหาคำตอบกันในบทความนี้

งานวิจัยล่าสุด ไม่พบว่าการสูบบุหรี่ไฟฟ้าทำลายปอด

พอตใช้แล้วทิ้งฟีเวอร์2

ฟังแล้วอาจจะไม่น่าเชื่อ จะเป็นไปได้อย่างไรว่า การสูบบุหรี่ไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นประเภท Pod System หรือ พอตใช้แล้วทิ้ง จะไม่ทำอันตรายปอดเลยแม้แต่นิดเดียว แต่เรื่องนี้ถูกเปิดเผยโดย นักวิทยาศาสตร์ชื่อว่า Polosa ผู้ซึ่งเป็นผู้อำนวยการจากสถาบัน Internal Medicine and Anti Smoking Center จาก มหาวิทยาลัย Catania ผู้ซึ่งได้รับรางวัล INNCO Global Award ในเดือนมิถุนายน 2566 ที่ผ่านมานี้เอง

การศึกษาเบื้องต้นพบว่า การสูบบุหรี่ไฟฟ้า ไม่ได้ทำลายสุขภาพ อย่างที่เข้าใจกัน

แม้ว่ากลุ่มในการทดสอบนี้ จะยังไม่กว้างขวางนัก แต่สามารถบอกได้ถึงข้อมูลที่น่าสนใจว่า การสูบบุหรี่ไฟฟ้าไม่ได้ทำให้เกิดอันตรายอย่างที่เข้าใจกันมาตลอด โดยเฉพาะ กลุ่มผู้สูบหน้าใหม่

ศาสตราจารย์ Riccado Polosa และทีมวิจัย ได้ทำการศึกษาตัวอย่างของคนรุ่นใหม่ ทั้งที่เคยสูบบุหรี่มาก่อน และ ยังไม่เคยสูบบุหรี่ไฟฟ้า โดยกลุ่มตัวอย่างนี้ ถูกติดตามเป็นระยะเวลา 3 ปี ครึ่ง โดยนำกลุ่มดังกล่าวมาเปรียบเทียบกับ กลุ่มผู้ไม่เคยใช้เลย

ผลปรากฎว่า ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของระบบหายใจ หรือการรบกวนการหายใจของกลุ่มตัวอย่าง แม้แต่การถูกทำลายของปอด เมื่อเทียบกันกับกลุ่มที่ไม่เคยสูบบุหรี่ไฟฟ้ามาก่อน โดยเน้นย้ำว่า ถึงแม้ว่า ผู้ที่สูบบุหรี่ไฟฟ้าจัด หรือสูบเป็นประจำ ก็ไม่ปรากฎว่ามีอาการปอดเสียหาย หรือ มีความดันโลหิตสูง 

อ้างอิงข้อมูล Vapingpost.com


คำถามเกี่ยว บุหรี่ไฟฟ้า และ เส้นเลือดแข็งตัว

ยอดขายบุหรี่อเมริกา ตกต่ำลงอย่างรวดเร็ว

สิ่งที่เราเชื่อกันมาตลอดว่า นิโคตินจะทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ และทำให้เส้นเลือดแข็งตัวหรือไม่ยืดหยุ่นนั้น แต่อันที่จริงแล้ว มีงานวิจัย ชิ้นหนึ่งที่ ถูกเปิดเผยในงาน European Respiratory Society International Congress (ERS) ในปี 2017 ที่ผ่านมา ได้ชี้ชัดว่า การสูบบุหรี่ไฟฟ้าอาจทำให้เส้นเลือดแข็ง ไม่ยืดหยุ่น บางครั้งเท่านั้น

ในงานเดียวกันมีข้อมูลที่น่าสนใจอีกประเภทเกี่ยวกับเรื่องนี้ที่ไม่เคยเปิดเผยมาก่อน จาก ศาสตราจารย์ Peter Hajek ผู้ซึ่งเป็นผู้อำนวยการจาก Tobacco Dependence Research Unit มหาวิทยาลัย Queen Mary University ในประเทศอังกฤษ ซึ่งทางศาสตราจารย์ได้กล่าวไว้ว่า ผลลัพธ์ของการใช้นิโคติน ดูเหมือนจะให้ผลกระตุ้นคล้ายกันกับ การจิบกาแฟ เพียงแต่การการสูบบุหรี่ไฟฟ้าอาจมีการสูบที่นานกว่าการจิบกาแฟเท่านั้น (ทำให้หัวใจเต้นเร็ว แรง และทำให้เส้นเลือดไม่ยืดหยุ่น) ซึ่งเป็นเรื่องที่มาที่หลายๆคนเคยได้ยินว่า บุหรี่ไฟฟ้าปลอดภัยกว่าบุหรี่จริง 95% และอาจเป็นเรื่องที่รู้กันทั่วไป (อ้างอิง biomedcentral.com)

การศึกษาล่าสุด ไม่พบว่า บุหรี่ไฟฟ้ามีผลต่อการเกิดโรคหัวใจ

งานวิจัยล่าสุดจาก Oxford Academic ซึ่งถูกตีพิมพ์เมื่อเดือน มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา พบว่าการเปลี่ยนจากบุหรี่จริงมาเป็นบุหรี่ไฟฟ้า ทำให้มีความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจลดลงกว่าเดิม โดยมีการนำกลุ่มทดลองซึ่งเป็นผู้ใหญ่วัยกลางคนทั้งสิ้น 4,347 ราย และเกิดผลลัพธ์จากการศึกษาว่า ถึงแม้ว่าจะมีการสูบบุหรี่ไฟฟ้า แต่การอักเสบของอวัยวะภายในร่างกาย รวมถึงสารตกค้างไม่ได้มากกว่าเดิม และ ดีกว่า ผู้ที่สูบบุหรี่จริง


การศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ ยังคงดำเนินต่อไป

นอกเหนือจากงานวิจัยของ Polosa ยังคงมีงานวิจัยอื่นๆอีกทั่วโลกที่น่าสนใจ และยังไม่ได้หยุดแค่เรื่องนี้  แต่สิ่งที่ได้มาจากผลลัพธ์ในการทดลองครั้งนี้ อาจทำให้เราหลายคนสบายใจมากขึ้น และ รู้ได้ว่า ควรที่จะหยุดสูบ หรือ เปลี่ยนจากบุหรี่มวน มาเป็นบุหรี่ไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นยี่ห้อไหนก็ตาม

อ่านต่อ: